กระเจี๊ยบเขียวของดีจากธรรมชาติ

พึ่งพาทรัพยากรในพื้นที่ สู่วิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมผลักดันเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่สำคัญของ จ.ภูเก็ต

เรื่อง น.ส.สุพนิตา วีระชาติเทวัญ , ภาพ นายกรวีร์ มลิวรรณ,สถาบันวิจัยและพัฒนา มาหวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

“กระเจี๊ยบเขียว” พืชที่เต็มไปด้วยคุณประโยชน์ อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และที่สำคัญคือ มีสารต้านอนุมูลอิสระด้วยซึ่งสามารถนำมาใช้ได้หลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือเครื่องสำอาง เช่นสบู่ โลชั่นและอีกมายมาย

มีพืชชนิดหนึ่งที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นขึ้นมาอยู่ชนิดหนึ่ง เรียกว่ากระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ฝักยาว เนื่องจากกระเจี๊ยบเขียวมีเมือกค่อนข้างมาก ทางชุมชนสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนได้เป็นสบู่เหลวจากกระเจี๊ยบเขียวมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ มีสารชะลอความแก่จึงนำมาพัฒนาในด้านเวชสำอางโดยนำมาใช้กับตัวบุคคล เกิดผลดีคือทำให้ใบหน้าอิ่มเอม

สุภโรจน์ ทรงยศ ประธานศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิก ที่ตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางเหนียวดำ การรวมกลุ่มครั้งแรก เดิมทีตั้งใจจะปลูกพืชเอามากินกันในชุมชนเพราะพืชในท้องตลาดมีสารพิษ สารเคมีเจือปนอยู่มากมาย


จุดเริ่มต้นสบู่เหลวกระเจี๊ยบเขียว

“เดิมทีเรารวมกลุ่มกันกับชาวบ้านที่จะมาปลูกพืชปลอดสารพิษและพืชไร้สารเคมีโดยรวมกลุ่มกันขึ้นมาเพื่อจะปลูกพืชที่นี้”  คุณสุภโรจน์ ทรงยศ ประธานศูนย์เรียนรู้ฯได้เล่าถึงการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิกเพื่อเป็นชุมชนต้นแบบของจังหวัดภูเก็ตที่ดำเนินงานส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชุมชน โดยการจัดสรรพื้นที่ของอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ พัฒนาพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่  ‘เกษตรแบบประณีต’มีการปลูกพืชระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว และเน้นพืชสวนสมุนไพรที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้มีความน่าอยู่อาศัย มีกินมีใช้ เกิดรายได้ ส่งเสริมความซื่อสัตย์ สุจริต อดทน ขยันหมั่นเพียรของชาวบ้านโดยมีกระเจี๊ยบเขียวที่เป็นพืชหลักในการมาทำผลิตภัณฑ์เพราะคุณประโยชน์อยู่มาก

คุณสุภโรจน์เล่าต่อว่า“สำหรับกระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชอัตลักษณ์ของที่นี่ที่เราปลูกกันก็เป็นพืชพื้นบ้านและเราก็เอามาเป็นอัตลักษณ์ที่นี่เพราะพืชกระเจี๊ยบเขียวมีคุณสมบัติอยู่มากมาย”

กระเจี๊ยบเขียวของบ้านม่าหนิกมีเมือกที่เป็นประโยชน์มากทีเดียว ซึ่งทางมหาลัยราชภัฏภูเก็ตได้ทำการวิจัยให้ทางชุมชนและค้นพบว่าน้ำเมือกของกระเจี๊ยบเขียวสามารถนำมาใช้เป็นเรื่องของเวชสำอางได้ โดยกระเจี๊ยบเขียวถือว่าเป็นพืชแบบใหม่ที่ทางชุมชนได้คิดค้นขึ้นมาแล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สู่การพัฒนาไปเป็นผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

สู่การพัฒนาชุมชน

ชุมชนบ้านม่าหนิกขาดความรู้ในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกระเจี๊ยบเขียว จึงได้ติดต่อกับทีมนักวิชาการจากมหาลัยราชภัฏภูเก็ตให้นำองค์ความรู้ตามที่ชุมชนบ้านม่าหนิกต้องการมาถ่ายทอดอบรมให้กับสมาชิกของชุมชนบ้านม่าหนิกเพื่อไปพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งสิ่งที่ได้รับจากมหาลัยราชภัฏภูเก็ตคือได้นำความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆที่คนในชุมชนไม่เคยรู้ไปพัฒนาในเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ประจำชุมชนท้องถิ่นที่คงความเป็นเอกลักษณ์ของศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิก

ด้าน ดร.ปาวลี ศรีสุขสมวงศ์ อาจารย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและทีมงานได้กล่าวว่า 

 “ทางชุมชนบ้านม่าหนิกมองว่าทางมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตจะไปแปรรูปอย่างไรที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับกระเจี๊ยบเขียวโดยมี คุณสุภโรจน์ ทรงยศได้ติดต่อทางมหาลัยราชภัฏภูเก็ตได้มีการให้ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต สอนการทำสบู่ก้อนจากตัวกระเจี๊ยบเขียวซึ่งได้ผลตอบรับที่ดีใช้แล้วรู้สึกว่าชุ่มชื่นขึ้น และหลังจากนั้นทางมหาลัยก็ได้มองว่าทางชุมชนอยากจะได้อะไรที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มากขึ้นนอกจากขายสบู่ก้อนเป็นโจทย์ให้กับทางมหาลัยราชภัฏภูเก็ต ซึ่งในทางทีมคณาจารย์ได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สบู่เหลวเป็นการต่อยอดมาจากสบู่ก้อนซึ่งทางมหาลัยได้มองว่าสบู่เหลวน่าจะพกพาได้ง่ายกว่าและเป็นการเปิดตลาดให้กว้างขึ้นและได้พัฒนาเป็น Sleeping Mark (ครีมสำหรับทาตอนกลางคืน) ที่เราสามารถทาทิ้งไว้ในตอนกลางคืนแล้วมาล้างออกในตอนเช้า”

กว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์

กว่าจะได้ผลิตภัณฑ์จากกระเจี๊ยบเขียวทางมหาลัยราชภัฏภูเก็ตต้องช่วยกันหาสูตรในการทำสบู่กระเจี๊ยบเขียวที่สามารถทำได้ง่าย คนในชุมชนสามารถจำสูตรนำเอาไปทำสบู่ได้ง่ายและประหยัดเวลาไม่ยุ่งยากและทางมหาลัยราชภัฏภูเก็ตได้มีการช่วยคิดบรรจุภัณฑ์และโลโก้ให้กับทางชุมชน โดยเอาเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปร่างรูปทรงกระเจี้ยบเขียวในรูปด้านที่เป็นรูปด้านตัดแล้วนำมาออกแบบกราฟิก ที่เหลือทางมหาลัยก็ทำตามรูปแบบบรรจุภัณฑ์เวชสำอางหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย

ผลิตภัณฑ์ที่ทางชุมชนผลิตตัวแรกเริ่มจากสบู่กระเจี๊ยบเขียว ไว้สำหรับล้างหน้า ชำระล้างร่างกาย ที่ให้ชาวบ้านหรือคนทั่วไปได้ลองเอาไปใช้แล้วเห็นผลจริง เป็นสินค้าที่ใช้ดีและบอกต่อกันไป

บ้านหม่านิกเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีผู้คนเข้ามาศึกษาจะได้เห็นผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียว เป็นอีกช่องทางในการขาย อีกส่วนหนึ่งจะเป็นในรูปแบบ OTOP ของชุมชน หากใครที่สนใจในตัวผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวสามารถเข้ามาทดลองใช้ได้ ทั้งนี้ในตัวกระเจี๊ยบเขียวเวลาสกัดออกมาแล้วจะมีความเป็นเมือกค่อนข้างเยอะ ซึ่งเมือกของกระเจี๊ยบเขียวหากได้ทาลงไปแล้วจะรู้สึกถึงความชุ่มชื่นเป็นอย่างมาก ในการทดสอบของชาวบ้านได้มีการทดลองใช้ด้วยวิธีแบบท้องถิ่นโดยการเอากระเจี๊ยบเขียวมาทาสดๆ ก่อนที่จะนำออกไปจำหน่าย

"นี่แหละกระเจี๊ยบเขียวของดีจากธรรมชาติของศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิก”


Exploring the Latest in Our Blog

Related Insights

Check out other insights