ความต่างถ้าสรุปง่ายๆ แบ่งได้เป็น 4 หัวข้อหลักๆ คือ (1) วัตถุดิบ (2) องค์ประกอบ (3) รสชาติ และ (4) โอกาสที่จะหารับประทาน
วัตถุดิบของหมูฮ้องต้นตำรับต่างจากหมูพะโล้ตรงไม่ใส่ผงพะโล้ (อบเชย) ไม่ใส่ไข่ ไม่ใส่เต้าหู้ เน้นเฉพาะเนื้อหมูสามชั้น เคี่ยวกับซีอิ๊วและเมล็ดพริกไทยเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
องค์ประกอบของหมูฮ้องจะมีเพียงน้ำขลุกขลิก ต่างกับหมูพะโล้ที่จะมีส่วนของน้ำพะโล้เยอะกว่าจนสามารถราดข้าวได้
ว่าด้วยเรื่องรสชาติ หมูฮ้องจะออกรสเค็มนำหวานปลาย ต่างจากความหวานของน้ำหมูพะโล้ คนภูเก็ตดั้งเดิมจะรู้ว่า รสสัมผัสของหมูฮ้องที่ดีต้องละลายในปากยิ่งกว่าเนื้อวัววากิว A5
ที่มาของคำว่า "ฮ้อง" มีหลายตำรา เช่น หมูฮ้องหรือ 封肉 (ฮ้องบะ) ฮ้องมาจาก 封 หมายถึงการสถาปนา ที่มาจากประวัติศาสตร์ยุคอาณาจักรหมิ่น(บั่น) ที่ชาวเมืองฮกเกี้ยนมีความนับถือในบันไท่จ้อ(จ้ออ๋อง) 闽太祖 จึงได้ทำหมูฮ้องทำเป็นรูปเต๋าใหญ่ๆ ลักษณะคล้ายตราประทับ เป็นนัยยะเพื่อสถาปนาท่านเป็นกษัตริย์
หรือคำว่าฮ้อง คือ การต้มให้เข้าเนื้อเป็นเวลานาน ที่ถือเป็นสูตรดั้งเดิมของชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาอยู่ที่ภูเก็ต และปีนัง-สิงคโปร์
สุดท้าย อ.นิธิวุฒิ ศรีบุญชัยชูสกุล อาจารย์พิเศษภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คำว่า “ฮ้อง” ในภาษาจีนยังมีการอ่านออกเสียงที่คล้ายสีคำว่า สีแดง ซึ่งคนไทยเชื้อสายจีนถือว่าเป็นสิริมงคล และจึงทำรับประทานกัน เฉพาะเทศกาลหรือโอกาสสำคัญต่างๆ ต่างจากหมูพะโล้ที่สามารถหาทานได้ทั่วไปทุกที่ทุกเวลา
หมูฮ้องถือเป็นอาหารต้นตำรับเก่าแก่คู่เมืองภูเก็ตมาเป็นเวลานาน ว่ากันว่า หากใครมาภูเก็ตแล้วไม่ได้ลองทานหมูฮ้องก็จะถือว่ามาไม่ถึงภูเก็ตกันเลยทีเดียว
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหมูฮ้องได้ที่ https://bit.ly/3wU34Cx
ชี้เป้าชิมหมูฮ้องสูตรเด็ด:
ตู้กับข้าว | วันจันทร์ (ภูเก็ต) | น้ำย้อย
อัพเดทเรื่องราว ที่เที่ยว ที่กิน ที่พัก กิจกรรมดีๆ และดีลเด็ดๆ ในภูเก็ตอย่างต่อเนื่องได้ทุกช่องทางของ
Signature of Phuket
STAY TUNED!
Facebook: Signature of Phuket | LINE: @sigphu | Blockdit
#หมูฮ้อง #อาหารพื้นเมือง #อาหารภูเก็ต #หิวทิพย์ #signatureofphuket #sophuket #localfood #phuketcuisine #ภูเก็ตเด็ดกว่าที่คิด #ภูเก็ต7ว้าว #ภูเก็ต7ตำรับ #ภูเก็ต7ศาสตร์ #ภูเก็ต7มื้อ