ทำความรู้จัก “Festival Economy” กับการจุดประกายและฟื้นฟูเศรษฐกิจเมืองด้วยงานเทศกาล-นิทรรศการ

วิกฤตโควิดทำให้หลายคนได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ หลายกลยุทธ์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ วันนี้พวกเราจะพาไปทำความรู้จัก “Festival Economy” การจุดประกายและฟื้นฟูเศรษฐกิจเมืองด้วยงานเทศกาล-นิทรรศการ

Content in collaboration with TCEB & คณะการบริการและการท่องเที่ยว ม.อ. ภูเก็ต
คุณพัฒนชัย สิงหะวาระ (ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการภาคใต้) และ ผศ.ดร. ตติยาพร จารุมณีรัตน์ (หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการการบริการ คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลนครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต)

การบิดงานบอลโลกและโอลิมปิกคือส่วนหนึ่งของ Festival Economy

หลายคนอาจสงสัยว่า Festival Economy นั้นคืออะไร วันนี้เราจะยกตัวอย่างงานใหญ่ที่เกิดขึ้นอย่างฟุตบอลโลก FIFA World Cup หรือ Olympics ที่ทุกคนคุ้นเคย มีหลายประเทศแข่งกันเพื่อเป็นผู้จัดงาน ซึ่งงานระดับโลกเหล่านี้จะต้องมีทีมงานเบื้องหลังที่เตรียมงาน ประมูลงาน เพื่อให้ได้จัดงานและหวังว่าจะมีคนทั่วโลกมาเยี่ยม Host Country หรือ ประเทศผู้จัดงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั่นเอง

ในประเทศไทยตัวแทนในการประมูลงานเหล่านี้ก็คือ Thailand Convention and Exhibition Bureau (TCEB) ที่บิดงานต่าง ๆ ซึ่งงานใหญ่ ๆ ในภูมิภาคภาคใต้และในภูเก็ตเองก็มี เช่น 

งาน ISAPS Thailand 2022 

การจัดการประชุมวิชาการศัลยแพทย์ตกแต่งความงามระดับนานาชาติ

ระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2565 ที่ Phuket Marriott Resort & Spa, Merlin Beach 

เป็นงานที่แสดงให้เห็นว่าจังหวัดภูเก็ตนอกจากจะเป็น MICE City แล้ว ยังเป็น Smart City ที่มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ

L’Etape Thailand by Tour de France

เทศกาลปั่นจักรยานระดับโลก

จัดขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม 2565 จังหวัดพังงา

เป็นงานที่ช่วยโปรโมทภาพลักษณ์ที่สวยงามของประเทศไทย รวมถึงศักยภาพในการจัดการแข่งขันจักรยานที่ได้มาตราฐานระดับสากลสู่สายตานานาชาติ และที่สำคัญคือช่วยสร้างรายได้และเม็ดเงินหมุนเวียนจำนวนมหาศาลให้แก่ประเทศไทยและประชาชนในจังหวัด

TBEX Asia 2022 Travel Blog Exchange

การประชุมระดับโลกที่รวบรวม Travel Blogger Content Creator

ระหว่างวันที่ 10-18 พฤศจิกายน 2565

เป็นงานอีเวนท์และการประชุมระดับโลกที่เป็นเวที (Platform) รูปแบบใหม่ของ Blogger, Content Creator บนสื่อสังคมออนไลน์ รวมไปถึงผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวจากทั่วโลกมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้าง Content ด้านการท่องเที่ยวบนสื่อสังคมออนไลน์ เป็นโอกาสสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศ ผ่านการนำเสนอภาพลักษณ์เชิงบวก และการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยในมุมมองที่หลากหลาย 

Phuket Specialized Expo 2028

อีกหนึ่งในไฮไลท์ก็คืองาน Specialized Expo ซึ่งทางจังหวัดภูเก็ตเป็นตัวแทนประเทศไทยในการประมูลงานภายใต้ Concept “Wellness and Medical” ซึ่งจากการประมาณการจะมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 5 ล้านคนภายใน 3 เดือนที่จัดงาน และการจะได้มาซึ่งงานนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ “Festival Economy” ในการพัฒนาประเทศในด้านโครงสร้างพื้นฐาน กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างมรดกเมือง และกระจายรายได้

Festival Economy (MICE) เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

การเตรียมต้อนรับคนเป็นจำนวนมากต้องใช้ทั้งคนและโครงสร้างต่าง ๆ ของเมืองในการทำงาน ซึ่งหลานงานก็จะต้องถูกสร้างขึ้นมาใหม่ อาทิเช่น รถไฟรางเบาของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งหากจะมีนักท่องเที่ยวมาจำนวน 5 ล้านคนภายใน 3 เดือน การพึ่งพารถแท็กซี่และรถเช่าเพียงเท่านั้นคงจะไม่พอ 

การเตรียมตัวเพื่อบิดงานอย่างเช่นงาน Phuket Specialized Expo 2028 ก็จะมีการผลักดันเรื่องการขนส่ง รถไฟฟ้ารางเบาไปยังคณะรัฐมนตรีอีกด้วย เพราะฉะนั้นหลายพื้นที่จึงใช้งาน Festival Economy & MICE เพื่อเป็นการผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองและประเทศ

Festival Economy (MICE) เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ

งานระดับโลกจะทำให้มีการเดินทางของนักเดินทางมากมาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ (Quality Tourist) ที่มีกำลังจับจ่ายใช้สอยค่อนข้างมาก ทำให้มีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดที่จัดงาน จะได้รับผลกระทบในเชิงบวก ในการนำรายเข้าสู่ประเทศและสู่ชาวบ้านเป็นจำนวนมาก ลองจินตนาการว่ามีนักท่องเที่ยว 5 ล้านคนเดินทางมาเที่ยว และหากเขาใช้จ่ายเพียงคนละ 1,000 บาทเท่านั้นก็จะทำให้มีเงินมาหมุนเวียนในเศรษฐกิจท้องถิ่นมากกว่า 5,000 ล้านบาท

Festival Economy (MICE) เพื่อการสร้างมรดกเมือง

การเตรียมงานต่าง ๆ โดยเฉพาะงานระดับโลก ต้องมีการเตรียมความพร้อม การพยายามนำอัตลักษณ์ที่โดดเด่น และจุดแตกต่างของเมืองออกมาเพื่อเป็นเครื่องมือดึงดูดกลุ่มนักเดินทาง โดยวัฒนธรรมและประเพณีที่สำคัญของพื้นที่จะถูกนำมาพูดถึงและยกระดับ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เดินทาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสื้อผ้าอาภรณ์ที่จังหวัดและประเทศ รวมไปถึงอาหารการกินพื้นถิ่นและประสบการณ์ต่าง ๆ 

ไม่เพียงแต่มรดกทางวัฒนธรรมเท่านั้น หากมีการเตรียมการล่วงหน้าและระยะยาว จังหวัดก็จะได้การพัฒนาเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวในจำนวนที่มากขึ้น รวมถึงสะสางปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤตการณ์โควิด

“นอกจากรายได้ที่เข้าสู่ประเทศแล้ว Festival Economy ยังมีส่วนสำคัญในการผลักดันการสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในจังหวัดที่ยังติดขัดอยู่อีกด้วย” คุณพัฒนชัย กล่าว

Festival Economy (MICE) เพื่อการกระจายรายได้

การวางกลยุทธ์ที่ดีจะสามารถช่วยกระจายรายได้ กระจายความเจริญได้อย่างทั่วถึงให้คนในชุมชน ในจังหวัดใกล้เคียง และจังหวัดอื่น ๆ อีกด้วย นอกจากการเตรียมงานเชิงธุรกิจแล้ว หากมีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ชุมชนและคนในจังหวัดได้มีส่วนร่วม เช่น การผลิตของฝากที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน ของว่าง เสื้อผ้า และกิจกรรมต่าง ๆ จะทำให้เกิดการกระจายรายได้อย่างยั่งยืน 

การเตรียมงานสำหรับ Quality Tourist จะทำให้เกิดการยกระดับชุมชนและเมืองเพื่อเตรียมพร้อมกับผู้มาเยือนและนักท่องเที่ยวในอนาคตอีกด้วย

เป็นยังไงกันบ้างกับกลยุทธ์ Festival & MICE Economy กับการพัฒนาเมือง ช่วยชุมชน และต่อยอดต้นทุนทางวัฒนธรรม The Signature หวังว่าพวกเราและทุกคนจะได้มีส่วนช่วยผลักดัน 

สำหรับท่านที่สนใจมีส่วนร่วมหรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อ: TCEB สำนักงานภาคใต้ได้ที่ The Southern MICE, คณะการบริการและการท่องเที่ยว ม.อ. ภูเก็ต FHT-PSU หรือพวกเรา The Signature โดยตรง

Better future is where everyone contributes and wins

Exploring the Latest in Our Blog

Related Insights

Check out other insights