‘Academy ทีมเยาวชน’ สิ่งสำคัญที่ขาดหายในนโยบาย ‘Thailand 4.0’

ภารกิจเปลี่ยน ‘ประเทศนักเสพ’ ให้เป็น ‘ประเทศนักสร้าง’

จากแนวคิด “ไทยแลนด์ 4.0” ของ ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และออกแบบอนาคตประเทศไทย สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อ 7 ปีก่อน (13 สิงหาคม 2558) สู่นโยบายระดับชาติตั้งแต่สมัย คสช. ประเทศเรากำลังเดินหน้าทุกอย่างเราไปอย่างช้าๆ หรือ พวกเรา ‘มูฟออนเป็นวงกลม’ ตามภาษาวัยรุ่น ที่ไม่สามารถนำไอเดียมาปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมกันแน่

ในฐานะคนที่อยู่ในวงการเทคโนโลยี ผมเองก็อดคิดไม่ได้ว่า

"ประเทศเรากำลังเดินมาถูกทางรึเปล่า"

หากเราถอดหมวกการเมืองออก ถ้านำนโยบาย "Thailand 4.0" มาประยุกต์ใช้ได้ ก็คงเป็นแนวคิดที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนไทยอย่างพวกเรา แล้วอะไรกันเล่าที่ทำให้เราพัฒนาอย่างก้าวกระโดดไม่ได้สักที

ระหว่างที่รวบรวมปัญหาและอุปสรรคจากผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในประเทศไทย ก่อนจะนำเสนอส่วนสรุปร่วมกับท่านนายกสมาคม Thai Startup ต่อหน้าพันธมิตรจากทุกภาคส่วนกว่า 40 องค์กร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา จึงได้เห็นสถิติที่น่าทึ่งของประเทศไทยในเวทีโลก

  • อันดับ 1 ที่มีสัดส่วนประชากรเป็นเจ้าของคริปโตที่ 20.1% 
  • อันดับ 1 ที่มีการซื้อของออนไลน์ทุกอาทิตย์ที่ 68.3%
  • อันดับ 1 ที่มีการซื้อของชำออนไลน์ทุกอาทิตย์ที่ 45.8%
  • อันดับ 2 ที่มีจำนวนประชากรที่เล่นเกมส์ออนไลน์หรือมือถือที่ 94.7%
  • อันดับ 2 ที่มีชั่วโมงการใช้อินเตอร์เน็ตบนมือถือที่ 5.28 ชั่วโมง
  • อันดับ 2 ที่มีประชากรใช้ social commerce
  • อันดับ 7 ที่มีชั่วโมงการใช้อินเตอร์เน็ตโดยรวมต่อวันที่ 9.06 ชั่วโมง
  • และการเข้าถึงของอินเตอร์เน็ตที่ 77.8% มากกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ 62.5%

ตัวเลขเหล่านี้แสดงถึงศักยภาพในการเป็นผู้นำของประเทศไทย แต่ในฐานะผู้เสพและผู้ซื้อเทคโลโนยี หากสหรัฐอเมริกามีนโยบาย "America First" ในยุค Donald Trump ประเทศไทยในวันนี้คงเป็น "Thailand Later" ที่ไร้ผู้ผลิต homegrown ไม่มีบริษัทเทคโนโลยีหรือสตาร์ทอัพเป็นของตัวเอง ทำให้เราเสียเปรียบประเทศอื่นๆ อยู่เสมอ

หากเปรียบกับกีฬาฟุตบอล ประเทศไทยก็คงเปรียบเสมือนทีมฟุตบอลที่มีทุกอย่างพร้อม ยกเว้น Academy ที่จะผลิตนักเตะทีมเยาวชนที่ลุกขึ้นมาผงาดบนเวทีโลก เมื่ออยากได้ของดีก็ต้องซื้อจากสโมสรอื่นๆ ในราคาที่สูงสุดโก่ง

น่าจะถึงเวลาที่พวกเราคงต้องกลับมานั่งคิดทบทวนว่า

"เราจะช่วยกันทำอย่างไร ให้นักเตะเยาวชนขึ้นมามีที่ยืนและได้แจ้งเกิดบ้าง” เพราะอย่างน้อยนักเตะลูกหม้อของสโมสรก็มีความรักความผูกพันกับสโมสร ไม่ต่างจากผู้ประกอบการสตาร์ทอัพไทยที่รักและผูกพันกับดินแดนสยามประเทศบ้านเกิดแห่งนี้

really Casper.

*part ต่อไปผมจะมาพูดถึงปัญหาและทางออกอย่างเจาะ stay tuned

Exploring the Latest in Our Blog

Related Insights

Designing and implementing online stores or e-commerce platforms that are secure, easy to navigate, and visually appealing.