by PKRU - แหล่งรวมข้อมูลและช่องทางส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนอันดามัน

“เราไม่ได้แค่สร้างครูและบัณฑิต แต่เรากำลังปลุกปั้นวิศวกรสังคม”

ภาพจำของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (PKRU) สำหรับหลายคนอาจเป็นเพียงแค่มหาวิทยาลัยครู และวันนี้เราจะพามาทำความรู้จัก PKRU ในมุมมองของวิศวกรสังคม (Social Engineer) กับการพัฒนาท้องถิ่นที่ดำเนินการมานานกว่า 50 ปี ในมุมมองของ พี่เกด ผศ. ดร. ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและวิจัย

PKRU ดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนาท้องถิ่นมากกว่า 200 โครงการใน 3 ปีหลัง ในพื้นที่อันดามันประกอบไปด้วย จังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ ช่วยผลักดันสินค้าท้องถิ่นมามากมาย อาทิเช่น สับปะรดภูเก็ต ส้มควายกมลา ผ้าพื้นเมือง เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน ที่ใช้ทั้งภูมิปัญญาและต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมานำ และกำลังต่อยอดเพื่อเพิ่มช่องทางให้ความรู้และการตลาดผ่าน “by PKRU

#เป้าหมายของโครงการพัฒนาท้องถิ่นกับวิศวกรสังคม

“ช่วยพัฒนาประเทศชาติให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยการสร้าง ‘วิศวกรสังคม’ จากการลงมือทำลงมือปฏิบัติจริง” 

“วิศวกรสังคม” ที่พี่เกดหมายถึง คือการเรียก “นักคิด นักสื่อสาร นักประสานงาน นักสร้างนวัตกรรม” ที่มีความตั้งใจช่วยพัฒนาชุนชน ท้องถิ่นและประเทศชาติ ของทั้งคณาจารย์และนักศึกษา ที่จะต้องลงพื้นที่ลงมือปฏิบัติจริงในการช่วยเหลือชุมชน

ซึ่งโครงการ “by PKRU” เองก็เกิดขึ้นหลังจากได้พูดคุย เก็บข้อคิดเห็นและความต้องการของชุมชนร่วมกับหน่วยงานเอกชนในพื้นที่ จึงได้ถือโอกาสรวบรวมโครงการต่าง ๆ รวมถึงองค์ความรู้ในเชิงปฏิบัติและสร้างช่องทางการตลาดเพิ่มเติมให้แก่ชุมชน

#ความร่วมมือสำคัญ

“เราไม่สามารถดำเนินการเพียงลำพังได้เลย เพราะทุกงานจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน หรือเรียกว่า เครือข่ายความร่วมมือ เลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ชุมชน ท้องถิ่น หรือประชาชนเองก็ตาม อย่าง PKRU เราเน้นการนำองค์ความรู้จากคณาจารย์ ผลงานวิจัยและเครื่องมือนวัตกรรม ไปช่วยชุมชนและโครงการต่าง ๆ ก็จะต้องร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ”

จะเห็นว่าการทำงานของ PKRU ส่วนมากจะเน้นการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานอื่น ๆ เพราะทุกฝ่ายต่างก็มีศักยภาพความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน ทาง The Signature เองก็ถือว่าโชคดีและยินดีที่ได้เข้าส่วนเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความร่วมมือนี้เช่นกัน

“การทำงานร่วมกับ The Signature เช่นกัน ก็ถือเป็นหนึ่งในความร่วมในการเติมเต็มศักยภาพของกันและกัน นอกจากช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เข้าสู่ตลาดได้แล้ว ยังช่วยให้ทีมงานผู้บริหารและคณาจารย์ได้เรียนรู้วิธีการทำงานและการตลาดยุคใหม่ ๆ ถือเป็นการทำงานร่วมกันที่ ตัวพี่เองฝันเห็น”

#อนาคตของโครงการพัฒนาท้องถิ่น

“Vision ของเราก็คือโครงการต่าง ๆ ของเราสามารถช่วยทำให้ทุกชุมชนเกิดความยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้จริง ๆ  ภาพที่พี่ฝันอยากเห็นคือ ‘ประชาชนที่มีรายได้ต่ำพ้นเกณฑ์ความยากจน ประชาชนที่มีสุขภาวะที่ไม่ค่อยดีมีสุขภาพแข็งแรง’ นี่แหละคือสิ่งที่พี่ถือว่า ตัวอาจารย์และมหาวิทยาลัยเองได้มีโอกาสช่วยในการพัฒนาประเทศไปด้วยกัน เป็นวิศกรสังคมที่แท้จริง”

ผศ. ดร. ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและวิจัยกล่าวปิดท้าย

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จ

1. sai sai เวชสำอางจากสับปะรดภูเก็ต

2. เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน "กะปง ต้องมา"

3. แปรรูปข้าวไร่ดอกข่า

4. BeachHolic ลันตาบาติก

5. Wisharawish presented by PKRU #คนรุ่นใหม่ใส่ชุดพื้นเมือง

6. การเพาะเห็ดอินทรีย์ 

7. เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน "เที่ยวทั้งปี เทพกระษัตรี ศรีสุนทร"

8. เกลือเคยภูเก็จ

9. ชาสมุนไพรจากส้มควายกมลา


Exploring the Latest in Our Blog

Related Insights

Check out other insights